Blue Ocean Strategy กลยุทธ์ที่ต้องการการสานต่อ
สถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบันมุ่งเน้นการเอาชัยคู่แข่งขัน เกิดการลอกเลียนแบบกลยุทธ์ของคู่แข่งจนทำให้สินค้าและบริการหาความแตกต่างแทบไม่เจอ ในที่สุดจึงหันมาแข่งขันกันด้วยกลยุทธ์ลด แลก แจก แถม โดยมีบุคลากรขายและบุคลากรบริการเป็นฝ่ายขับเคลื่อนกลยุทธ์ ซึ่งจะนำไปสู่การแข่งขันและตอบโต้ที่รุนแรงจากคู่แข่งขันในลักษณะเดียวกัน ซึ่งการแข่งขันลักษณะนี้ไม่ได้ส่งผลดีต่อฝ่ายใด มีแต่จะทำให้ธุรกิจเข้าสู่สภาวะถดถอยเร็วขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย
สถานการณ์เช่นนี้เปรียบเสมือนการแข่งขันในน่านน้ำสีแดง (Red Ocean Strategy ) และไม่ก่อให้เกิดการเติบโตของกำไรอย่างแท้จริง ในเชิงการตลาดเราอาจจะหาทางออกด้วยการใช้ (Blue Ocean Strategy) แต่นั้นคือความคิดของนักการตลาด การหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการอย่างแท้จริง แล้วจึงนำออกมาเสนอถือเป็นสิ่งที่ควรทำอยู่แล้ว เพราะจะทำให้สินค้าและบริการสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างถูกต้องที่สุด แต่คำถามคือ กลยุทธ์ (Blue Ocean Strategy) ใช้ได้เฉพาะการตลาดเท่านั้นจริงหรือไม่?
คำถามที่ไม่เคยมีใครให้ความสนใจกำลังจะกลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะในสภาวะสงครามระดับมหาภาคที่กินเวลาหลายไตรมาศนั้น เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดจากเหตุการณ์ระดับจุลภาคที่มีขอบเขตกว้างขวางและกินเนื้อที่เป็นขนาดใหญ่จนเปลี่ยนสภาพเป็นระดับมหภาคอย่างปัจจุบัน (Blue Ocean Strategy) คือการค้นหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการและตอบโจทย์
ถ้าหากกลยุทธ์ที่ใช้ตอบโจทย์ผ่าน Product เท่านั้นกลยุทธ์นี้ก็คงง่าย เพราะทุกองค์กรจะมุ่งเน้นที่การคิดค้นนวัตกรรมสินค้าแบบใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ แต่กลยุทธ์ที่คิดขึ้นมาไม่จำเป็นต้องเป็น Product เท่านั้น แต่อาจจะเป็น Process ใหม่ๆ หรือ Service แบบใหม่ก็ย่อมได้ ถือเป็นจุดที่จะทำให้องค์กรได้เปรียบโดยที่ไม่เน้นการแข่งขัน ในระยะแรกองค์กรอาจมีชัยในเรื่องนวัตกรรมก็จริง แต่ที่เป็นปัญหาก็ไม่พ้น Service และ Process ซึ่งใช้บุคลากรในองค์กรเป็นตัวขับเคลื่อน ความยากลำบากนั้นก็คือ หากองค์กรตีกรอบกลยุทธ์ (Blue Ocean Strategy) ให้บุคลากร โดยที่บุคลากรไม่ได้ล่วงรู้ถึงนโยบายการเปลี่ยนแปลงรวมถึงความเข้าใจนั้นก็หมายความว่ากลยุทธ์ไม่เป็นผลสำเร็จ
เมื่อไม่สำเร็จก็หมายความว่าการแข่งขันที่องค์กรเคยเป็นผู้นำจะถูกคู่แข่งขันที่เคยทิ้งระยะห่างมาในอดีต ก้าวตามมาทันและจะเกิดการแข่งขันที่จะกลายเป็นเสียโอกาสการทำกำไรอย่างแท้จริงไป นักการตลาดพยายามอย่างมากในการคิดค้นกลยุทธ์การตลาดขั้นสุดยอด คือ กลยุทธ์ที่มุ่งเน้นในการให้สินค้าขายได้ด้วยตัวของมันเองปราศจากการพึ่งนักขาย แต่จะเป็นไปได้จริงหรือไม่ ถ้าไม่มีนักขายแล้วสินค้าจะขายได้ ในเมื่อตลาดของประเทศไทยยังมุ่งเน้นไปที่การ Service และ Process นอกเหนือจาก Product และองค์กรจะค้นหาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าเจอหรือไม่ เพราะผู้ใกล้ชิดลูกค้ามิใช่องค์กรแต่เป็นบุคลากรขายและบริการ
“กลยุทธ์ที่ตอบโจทย์มิใช่กลยุทธ์ลอกเลียนแบบ หากแต่เป็นกลยุทธ์ศิลปะเชิงประยุกต
บทความโดย อาจารย์ประเสริฐ สุขไพบูลย์กุล